๑. เพศ หญิง
๒. อายุ สิบแปดปี
๓. มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๔. คณะ อักษรศาสตร์
๕. ชั้นปี ๑
๖. เวลาไปเรียนแต่งตัวอย่างไร ส่วนใหญ่ก็ชุดนักศึกษา (รัดรูป กระโปรงสั้น แต่งหน้าตามปรกติ)
บางครั้งก็ชุดอื่น ๆ เช่น ชุดตามสมัยนิยม เพื่อไปร่อนสยามฯ ในลำดับต่อไป
๗. การแต่งกายบ่งบอกอะไรในตัวเราบ้าง ไม่ได้หมายถึงการแต่งกายด้วยชุดนักศึกษาใช่ไหมคะ, ต่อข้อถามนี้ ตอบว่า
๑) ความมั่งมี
๒) กมลสันดาน (เช่น ความรักสะอาด ความพิถีพิถัน ความรักสวยรักงาม ความแรดกระซู่กูปรี)
๘. การแต่งชุดนักศึกษา ทำให้คุณมีความภาคภูมิใจหรือไม่ เฉย ๆ เพราะความภูมิใจใน... (โจทย์ไม่ได้ระบุนินาว่าภูมิใจในด้านใด เลือกตอบไม่ถูก) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการแต่งชุดนักศึกษา
๘. ปัจจัยในการทำให้เลือกชุดนักศึกษา ตามลำดับของอิทธิพลจากมากไปหาน้อยนะคะ
๑) เวลา (เวลาน้อย ตื่นสาย จะไปหยิบคว้าหาชุดอื่นมาใส่ก็ไม่ทัน ชุดนักศึกษานี่แหละง่ายดี สวมปุ๊บ เสร็จปั๊บ)
๒) ภาพลักษณ์ (ใส่แล้วน่ารัก ใส ๆ ไม่ต้องคิดมาก อีกอย่าง ใส่ชุดนักศึกษาแล้วคนนอกจะมองว่าเป็นคนดี เป็นต้น)
๙. ถ้ามีการรณรงค์ให้แต่งกายถูกระเบียบ คุณจะปฏิบัติตามหรือไม่ ไม่ เพราะ บุคคลมีเสรีภาพในการแต่งกาย
ระเบียบที่ขัดต่อเสรีภาพของบุคคลอันรัฐธรรมนูญรองรับไว้แล้ว ไม่สามารถใช้บังคับได้
ถ้าประกาศใช้บังคับก็จะแสดงอาการขัดขืนอย่างสงบ (หรือ ดื้อแพ่ง หรือ อารยะขัดขืน, อันตรงกับภาษาอังกฤษว่า civil disobience นั่นแหละ)
ถ้ายังบังคับกันมากไปอีก ก็จะไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญให้ระเบียบเป็นโมฆะเสีย
ส่วนสาเหตุที่ไม่ปฏิบัติตาม เพราะ ๑) อย่างที่บอก บุคคลมีเสรีภาพจะแต่งกายอะไรก็ได้ที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยค่ะ
๒) การบังคับให้แต่งกายแนวเดียวกัน นอกจากจะขัดต่อหลักเสรีภาพและรัฐธรรมนูญแล้ว ยังไม่ช่วยให้คนมีพัฒนาการทางความคิดด้วย
กลับทำให้คนทำตาม ๆ กัน ซึ่งเป็นผลเสียต่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอย่างยิ่ง
๑๐. คุณมีความรู้สึกภูมิใจหรือไม่เมื่อแต่งกายถูกต้อง และอายเมื่อแต่งกายผิดระเบียบหรือไม่ เฉย ๆ ทั้งสองประการค่ะ
เพราะจุฬาฯ ไม่ได้อะไรมากมายกับการแต่งชุดนักศึกษา ใครอยากแต่งก็แต่ง ไม่อยากแต่งก็ไม่ต้องแต่ง
เขาปลูกฝังกันอย่างนี้ ด้วยความเคารพในเสรีภาพของบุคคล
๑๑. คิดอย่างไรกับการแต่งชุดนักศึกษาตาม fashion ช่วยอธิบายขยายความ "การแต่งชุดนักศึกษาตาม fashion" หน่อยได้ไหมคะ จะได้ตอบได้ถูกต้อง ตรงประเด็น
แต่ในการนี้ ถ้าหมายความว่า การแต่งแบบกระโปรงสั้น เสื้อรัดรูป อะไรนี่ ก็ไม่เห็นเป็นของผิดแปลกแต่อย่างใดค่ะ ถ้าไม่เกินเลย
๑๒. คิดว่าเราแต่งตัวตาม fashion ไปเพื่ออะไร มีปัจจัยหลายอย่างค่ะ เช่น ๑) เพื่อให้ดูดี ดูแบ๊ว ดูน่ารัก ดูใสซื่อ เป็นต้น ๒) เพื่อให้มีคนมอง คนชอบ คนรัก คนบ้า ฯลฯ
๓) เพื่อให้ผู้แต่งสบายใจ (แต่คนอื่นอาจไม่สบายใจ) เป็นต้น
๑๓. คิดอย่างไรกับการแต่งตัวแบบ “เสื้อปล่อยชาย กางเกงยีนส์ รองเท้าแตะ” และ “เสื้อคับติ้ว กระโปรงสั้น” เฉย ๆ, ถ้าไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย (คือ ไม่เกินเลย, ไม่ทำให้ฝใครแตกตื่น, และไม่เป็นอันตรายต่อผู้แต่งเอง)
๑๔. อยากให้มีเครื่องแบบนักศึกษาหรือแต่งกายไปรเวต อยากบอกว่า จะกำหนดให้นิสิตนักศึกษามีชุดนักศึกษาก็ตามใจรัฐบาลหรือผู้บริหารสถานศึกษา
แต่ควรกำหนดไว้ด้วยว่า "การแต่งกายเช่นว่านี้ ให้เป็นไปตามความสมัครใจของนิสิต (นักศึกษา)"
๑๕. การใส่เสื้อตัวเล็กมีผลต่อการควบคุมน้ำหนักจริงหรือไม่ ก็อาจมีนะ เช่น บางคนแต่งคนคับจัด ต้องแขม่วท้องตลอด ไม่งั้นกระดุมปริ แตก ระเบิด ตามลำดับ
ในเมื่อต้องระวังไม่ให้กระดุมระเบิดแล้ว ก็อาจต้องระวังไม่รับประทานอะไรมากมาย เป็นต้น
แต่ก็ไม่แน่ว่า หากหิวแล้วก็อาจกระวีกระวาดหาอาหารรับประทานยกใหญ่ในภายหลังก็ได้
๑๖. คิดว่าการแต่งกายแบบนี้เป็นผลมาจากวัฒนธรรมต่างชาติหรือไม่ ส่วนหนึ่งก็แน่ล่ะ เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น แต่จะโทษก็ต้องโทษคนไทยเอง
๑๗. การใส่ชุดตัวเล็กตาม fashion ทำให้ดูดีขึ้น เป็นการปรับจุดด้อยของตัวเองให้เด่นขึ้นมาจริงหรือ ขึ้นอยู่กับรูปโฉมของผู้ใส่
ถ้าผู้ใส่ จากเต็มสิบได้ต่ำตั้งแต่ห้าลงไป ขุนอย่างไรมันก็ไม่ขึ้นล่ะค่ะ
๑๘. คิดว่าการแต่งชุดนักศึกษาล่อแหลมจะทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้หรือไม่ แน่นอน ยืนยันได้จาก...
เห็นแล้วอยากข่มขืน
๑๙. การแต่งกายแบบนี้เกิดจากการที่มหาวิทยาลัยให้อิสระมากเกินไปหรือไม่ ก็มีส่วน แต่อย่างที่บอกค่ะว่าไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร
๒๐. ควรให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนเครื่องแบบนักศึกษาให้เป็นเครื่องแบบที่ทันสมัยตาม fashion หรือไม่ อย่างไรล่ะคะ ที่ว่า "ตาม fashion"
สมัยนิยมแบบไหนดี ๑) เสื้อรัดรูป กระโปรงสั้น ๒) ชุดเหมือนแต่งคอสเพลย์ ฯลฯ
อย่างที่บอกค่ะ มหาวิทยาลัยจะกำหนดเครื่องแบบอย่างไรก็ตามใจ แต่ควรกำหนดไว้ด้วยว่า
"การแต่งกายเช่นว่านี้ ให้เป็นไปตามความสมัครใจของนิสิต (นักศึกษา)"