อันนี้เป็นข่าวเก่า แต่น่าจะมีประโยชน์เลยเอามาให้อ่านกัน

จากเว็บ:
http://www.thaingo.org/story/artvote.htm
|
| ชาว กทม. ต้องการ 'หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร'
โครงการจัดสร้าง “หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร” ริเริ่มขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบันโครงการนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จ 8 ปีผ่านไป ความหวังและความต้องการของพวกเราชาว กทม. ยังไม่เคยหมด เพราะวันนี้กรุงเทพมหานครเติบโตเป็นอย่างมากในทุกด้าน แต่ยังคงขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านศิลปวัฒนธรรมที่จำเป็น นั่นคือ “หอศิลปวัฒนธรรม” ที่เป็นพื้นที่ของการแสดงออกและแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ และเป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต, จิตใจ และจิตวิญญาณของชาว กทม. ยุคใหม่
ชาว กทม. กำลังจะต้องเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ คนใหม่เร็วๆ แต่เราจะเห็นได้ว่าจากการหาเสียง เราก็แทบจะไม่เห็นเลยว่าผู้เสนอประเด็นหรือนโยบายทางด้านศิลปวัฒนธรรม เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (People’s Network for Bangkok Art & Culture Centre) จึงเกิดขึ้น เครือข่ายนี้ เกิดจากการรวมตัวของประชาชนชาว กทม. ที่มีความต้องการเห็นคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ได้แก่ เครือข่ายศิลปินรณรงค์เพื่อหอศิลปะร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติแห่งกรุงเทพมหานคร, กลุ่ม We Think, กลุ่มศิลปินเจน อาร์ต, อาจารย์และนักศึกษาศิลปะ, กลุ่มพันธมิตรมะขามป้อม, นักวิชาการ และกลุ่มประชาสังคมกรุงเทพ ได้ร่วมกันแสดงจุดยืนในการ ทวงถาม ถึง “หอศิลปวัฒนธรรม” ที่เริ่มต้นในสมัยผู้ว่าฯ พิจิตร รัตกุล กลางสมัย จนมาถึงผู้ว่าฯ สมัคร สุนทรเวช และกำลังจะมีผู้ว่าฯ คนใหม่ รวมเวลากว่า 8 ปี มีการวางศิลาฤกษ์ไปแล้ว แต่ไม่มีการลงมือสร้าง ทั้งๆ ที่งบประมาณ 160 ล้านบาทก็ออกมาแล้ว เป็นงานที่คาราคาซังอยู่ ออกแบบเรีบยร้อยแล้ว มีการประกวดแบบแล้ว แต่ด้วยสาเหตุเรื่องขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ ที่ต้องการให้สร้างเป็นศูนย์การค้าแทน โดยให้หอศิลปฯ เป็นส่วนหนึ่งในศูนย์การค้านั้น นั้นคือการให้คุณค่ากับศิลปวัฒนธรรมของชาติที่เหมาะสมแล้วหรือ ?
คงถึงเวลาที่ประชาชน....จะทวง 'หอศิลปฯ' คืน....
|
-----------------------------------------------------------------------
ถ้าเราไม่มีตรงนี้ อาศัยการเรียนรู้จากแค่ วัง กับ วัด คงไม่พอ.... และผมอยากให้มีหลายๆ ที่ มีทุกเมือง มุกจังหวัด ในรัฐธรรมนูญก็เขียนไว้แล้ว ในมาตรา 46/2540 "บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิ อนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรม อันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการการบำรุง รักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ" มันเขียนในกฎหมาย แต่มันเหมือนเราพนมมือ แล้วก็ฟังพระเทศน์ รับศีล 5 รับๆไปแล้วไม่ปฎิบัติ มันไม่มีประโยชน์อะไรขึ้น ฉันใดก็ฉันนั้น
หอศิลปวัฒนธรรม จำเป็นต้องมีเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ทางศิลปะ ทุกสาขา และประเด็นที่สำคัญอื่นประัเด็นคือ หอศิลปวัฒนธรรมเป็นแหล่งบูรณาการกับชุมชน ใน กทม. มีแหล่งศิลปวัฒนธรรมหลายที่ต่างคนต่างทำ ไม่มี Center ที่เป็นระบบ มันไม่มีทิศทางรวมของประเทศ สมมติว่าผู้นำประเทศเราจะสร้างสินค้า OTOP มาตัวหนึ่งแล้วจะให้มีรูปแบบสวยๆ เราสั่งวันนี้ให้เป็นมันวันนี้มันเป็นไปได้ไหม...มันเป็นไปไม่ได้เลย อย่าง อิตาลี เขามี เฟอร์รารี่ (Ferrari) มี กุดชี่ (Gucchi) มีผลิตภัณฑ์ดีไซน์ดี เขามี ไมเคิล แองเจอโล (Michel Angelo) มีดาวินชี่ (daVinci) มาก่อน มันถึงมี เฟอร์รารี่ (Ferrari) มาได้ วันนี้เราสั่งให้ OTOP สวยๆ มี Bangkok เมืองแฟชั่น เราจิกหัวให้เกิดในวันสองวัน...มันจัดฉาก...ถ้าฐานราก องค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมเราไม่ดูแล ไม่มีระบบ ไม่มีการสืบสานต่อ ไม่ถ่ายต่อสู่คนรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่ไม่สามารถศึกษาคนรุ่นเก่าได้ เราจะสร้างศิลปะที่มันร่วมสมัย หรือเป็นตัวเราได้อย่างไร...
นี่แค่ก้าวแรกเฉยๆ ที่ผมมองลึกกว่านั้นคือต้องปฏิรูปการศึกษา เราให้ความสำคัญกับวิชากลุ่มสมองฉีกซ้าย คือ พวกคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คำนวณต่างๆ มากกว่าองค์ความรู้วิชากลุ่มสมองฉีกขวา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ผมว่าอันตราย... แล้วตรงกลางก็คือ พวกพลานามัย มนุษย์คนมันก็มี 3 กลุ่มวิชาเป็นฐาน มันต้องสมดุลย์กัน
อ.ปรีชา เถาทอง (อดีตคณบดีคณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร)
| 
|
-----------------------------------------------------------------------

| อย่างน้่อย หอศิลปฯ เป็นเชื้อของความคิดของสุนทรีย์เบื้องต้นที่เราต้องมีเอาไว้ เป็นจุดนัดพบของเรื่องสุนทรีย์ มันถูกต้องแล้ว สำหรับสถานที่ตั้งของหอศิลป ไปก็ได้สะดวก มีรถไฟฟ้า มีอะไรสารพัด อยู่กลางเมือง ไม่ใช่ไปอยู่แถว 'ตาตุ่ม' เมือง
อ.ฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที (มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร)
|
-----------------------------------------------------------------------
หลายเมืองเขาพยายาม 'สร้าง' วัฒนธรรมของเก่าที่ลืมไปแล้ว แต่กรุงเทพฯ มันยังมีและดำรงอยู่ และผมเชื่อว่าทุกจังหวัดก็ควรจะมีหอศิลป์ของจังหวัด
คน กทม. อยากเห็นบางสิ่งบางอย่างขัดเกลาจิตใจลูกหลาน และสิ่งที่ผมภูมิใจก็คือ เด็กๆ ที่บ้านครัวจะได้มีเวทีทางวัฒนธรรม ที่เขาสามารถมาใช้ประกอบกิจกรรมของเขา ไม่ใช่เอาเวลาไปห้างใหญ่ๆ วึ่งเกิดขึ้นแทบทุกจุด
กรุงเทพฯ มีชุมชนประมาณ 1 พันต้นๆ มีเขต 50 เขต ซึ่งตรงนี้ยังขาดศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรมของเขาเอง ถ้า กทม. เป็นตัวเริ่มให้เกิดขึ้นได้ อีก 75 จังหวัดก็จะมีตาม ประเทศไทยไม่ได้เกิดขึ้นได้ด้วยเงินตรา แต่มันเกิดจากวัฒนธรรมที่สั่งสมกันมา กว่า 200 ปี ถ้าเราลืมตรงนี้ไป เราไม่สามารถสร้างมันชึ้นได้อีก วัฒนธรรมไม่สามารถสร้างขึ้นได้ มันต้องดำรงอยู่และสืบทอดด้วยคน
หลายคนอาจจะมองไม่เห็นคุณค่าว่า มันจะมีผลผลิตอะไรจากตัวหอศิลปฯ แต่มันมีคุณค่าที่วัดไม่ได้ด้วยเงินตรา จะมาวัดด้วย GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวม คงไม่ใช่... แต่ศิลปวัฒนธรรมมันวัดด้วยสำนึกและจิดใจมากกว่า ซึ่งผมเชื่อว่า กทม ยังมีชุมชนที่ยังไม่ล่มสลายอีกเยอะและยังดำรงอยู่
สาโรจน์ เผือกสาลี (ตัวแทนชุมชน)
| 
|
-----------------------------------------------------------------------

| การเคลื่อนไหวเรื่องหอศิลปฯ เป็นเรื่องเล็กๆ แต่อยู่ในคำถามใหญ่ของชาติ ที่กำลังเกิดขึ้นและจะหนักขึ้นใน 5-10 ปีข้างหน้า สิ่งที่มันพัฒนาไปและไม่มีใครควบคุมได้คือ เทคโนโลยี แต่สิ่งที่ควบคุมเทคโนโลยีคือ มนุษย์ และสิ่งที่ควบคุมมนุษย์คือ สภาวะแห่งจิตใจ ซึ่งมันขาดอย่างมากในสังคมไทย
เรื่องหอศิลป เป็นเรื่องของอนาคตของชาติ เกี่ยวกับเยาวชน ด้วย เพราะเขาเติบโตภายใต้สิ่งเร้าอื่นๆ ต่างๆ มากมาย แต่เขาไม่มีโอกาสปฎิเสธสิ่งเหล่านี้ เราต้องหาทางผลักดันเรื่องของเยาวชนและศิลปวัฒนธรรมให้เป็นเรื่องเดียวกัน ให้เป็นวาระแห่งชาติให้ได้ สส. กทม. ก็ต้องพูดเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่ผู้ว่าฯ อย่างเดียว เพราะหลายเรื่องผู้ว่าฯ จัดการไม่ได้ ต้องพูดเรื่องนี้ แล้วเมืองต่างๆ ในประเทศไทยต้องพูดเรื่องนี้ การขยายตัวของเมืองทุกเมืองต้องพูดเรื่องนี้ด้วย ทำให้ Imagination ให้เป็น Movement ให้ได้
อ. ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์
|
-----------------------------------------------------------------------
หอศิลปฯ มันสร้างแล้ว เพราะผมไปช่วยเขาวางศิลาฤกษ์ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว มันควรจะเสร็จไปแล้วแต่มันไม่เสร็จ มันไม่ใช่ปัญหาของเรา มันเป็นปัญของผู้ว่าฯ เพราะฉนั้นการเคลื่อนไหวครั้งนี้ เป็นการขยายตัวโตขึ้น แต่ก่อนมีแค่เครือข่ายศิลปินฯ ตอนนี้เป็นเครือข่ายประชาชนฯ หรือเขาจะรอคอยให้เราโตกว่านี้ ???
นี่เป็นการทดสอบระดับภูมิปัญญา ระดับวัฒนธรรม ของผู้ว่าฯ กทม คนใหม่ว่าเขารู้เรื่องนี่แค่ไหน ผมเชื่อว่าพวกเราทุกคนต้องการหอศิลปฯ ประชาชนทุกคนหอศิลปฯ ยกเว้นผู้ว่าฯ เพราะัฉนั้นเราจะมาถามผู้ว่าฯ 'จะเอาไหม??'
เราจะไปทุกๆ ที่ที่มีการหาเสียงผู้ว่าฯ เราจะหาเสียงหอศิลปฯ แล้วจะให้ผู้สมัครรับเลือกผู้ว่าฯ Vote ให้หอศิลปฯ ด้วย จะได้รู้ว่าใครเอาใครไม่เอา
จุมพล อภิสุข (ศิลปินบ้านตึก , เลขาฯ เครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร)
| 
|
-----------------------------------------------------------------------

| ผมก็เคยเรียนศิลปะ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เป็น 'คาราวาน' สนุกกว่า มีการเคลื่อนไหวกว่า Active กว่า มีประโยชน์กว่า พอตอนนี้อายุ 50 กว่าแล้ว เวลาเหลือน้อยละ สมองเราก็ยังเหลือก็เขียนรูปดีกว่า เออ...เพื่อนๆ ก็ช่วยซื้ออยู่ แต่ว่าแสดงตาม 'ร้านเหล้า' เท่านั้น ก็เป็นที่อับอายนะว่า ประเทศไทย - ศิลปินแสดงรูปตามร้านเหล้าเท่านั้น
เมื่อต้นปีผมไปสวีเดนบ้าง ไปเดนมาร์กบ้าง ไปญี่ปุ่น ก็ไปหาดูงานศิลปะ อยากดูงาน 'โกแกง' จริงๆ เป็นยังไง ได้เห็นงานจริงมันอบอุ่น มาเมืองไทยผมอยากงาน 'อ.เฟื้อ' ผมไม่รู้ไปดูที่ไหน.... ดูในหนังสือก็รู้สึกมีความสุขแล้ว แต่งานจริงๆ ไม่รู้อยู่ไหน....อยากดู ก็ไม่ได้ดู
เพราะฉนั้น... เห็นด้วยกับหอศิลปฯ ผมยินดีที่จะร่วมเรียกร้อง
มงคล อุทก (หว่อง คาราวาน)
|
-----------------------------------------------------------------------
ในสถานภาพของการเป็นคนทำงานทางด้านศิลปะ ด้านการทำรายการโทรทัศน์ ทำกิจกรรมให้กับเด็กๆ และเยาวชน และในสถาภาพของการเป็นพ่อ... เป็นครอบครัว เราห่วงใยต่อความเป็นไปในประเทศเฮงซวยประเทศนี้ แต่มันไม่ใช่สร้างขึ้นมาจากความเฮงซวย แต่ปัจจุบันมันสร้างให้เกิดขึ้น แต่สิ่งที่ผ่านมากว่าเราจะเป็นสยาม เป็นไทย เรามีวัฒนธรรม เรามีศิลปะ ประเทศนี้ทั้งประเทศ ชาตินี้ทั้งชาติสร้างมาด้วยศิลปและวัฒนธรรม นั้นคือ 'ราก'
สิ่งที่เราเรียกร้อง เราต้องการหาจุดๆ หนึ่งของ กทม. ซึ่งเป็นจุดแรกที่แทบจะเป็นการสร้างชาติขึ้นมาใหม่ รวมตัวกับสิ่งที่มีขบวนรูปแห่งความงามของศิลปะ
ศิลปวัฒนธรรมนี่ไำม่ใช่แค่อิ่มทางด้านจิตใจอย่างเดียว มันสามารถเอาไปใช้งานได้สารพัด เราทำงานกับเด็กและเยาวชนก็ใช้ศิลปวัฒนธรรม ในการปลูกฝังสำนึกต่อสังคมให้กับเด็กๆ สร้างวิธีคิดดีๆ ให้กับเด็กๆ
กิตติพงศ์ ขันธกาญจน์ (น้าต้อม 2วัย)
|  |