ประวัติความเป็นมา หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ (BMA Contemporary Art Museum) ภาพแบบร่างหอศิลป์กรุงเทพฯ แยกปทุมวันหอศิลป์กรุงเทพฯ มีชื่อเต็มว่า หอศิลปะวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นเป็นโครงการ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2537 โดยกลุ่มศิลปินร่วมสมัยแห่งประเทศไทยนับพันคนได้จัดแสดงผลงานที่ ศุนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยหวังให้สังคมเห็นว่า มีศิลปินมากพอที่ควรจะมี หอศิลป์ มาเป็นพื้นที่รองรับในการแสดงออกผลงาน และเก็บรักษาผลงานในอดีตและประวัติศาสตร์ เป็นที่รวมกลุ่มศิลปิน เพื่อพบปะ แลกเปลี่ยนความคิด แนวการทำงาน ผลก็การผลักดันให้เกิดการพัฒนาของวงการศิลปะในบ้านเมืองนี้

โครงการดูจะมีอนาคตที่สดใสและรุ่งเรืองเมื่อคราวสมัยของ ดร.พิจิตต รัตตกุลได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่า กทม. โดยมีการผลักดันจนกระทั่ง กทม มีนโยบายที่จะสร้างหอศิลป์ขึ้น มีการกำหนดพื้นที่ตั้งหอศิลป์ที่บริเวณสีแยก ปทุมวัน และผู้ชนะจากการประกวดแบบ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้แก่ บริษัท Robert G. Boughey & Associates (RGB Architects)ความพร้อมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในปี พศ.2539 ในสมัยของนายสมัคร สุนทรเวช

ผู้ว่า กทม.คนต่อมา โครงการหอศิลป์กรุงเทพมหานคร ถูกรื้อถอนโครงการความคืบหน้าเดิม ทิ้งทั้งหมด เปลี่ยนหน้าตามาเป็นพื้นที่การค้า ตามรูปแบบการใช้พื้นที่แถบนั้น และมีส่วนแสดงศิลปะไว้นิดหน่อย

ซึ่งบรรดาศิลปินและคนทำงานศิลปะในหลายแขนงต่างไม่พอใจในการยุบโครงการนี้เป็นอย่างมาก และได้เคลื่อนไหวเรียกร้องมาตลอดสมัยของนายสมัคร สุนทรเวช

จากการเคลื่อนไหวเรียกร้องต่อสู้เพื่อให้มีหอศิลป์โดยเครือข่ายประชาชนและกลุ่มศิลปินที่ยาวนาน จนกระทั่งกรุงเทพมหานคร โดยผู้ว่าราชการฯ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้เล็งเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม และได้วางนโยบายด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นนโยบายหลัก โดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ของเด็ก เยาวชน และประชาชนในสังคม ให้ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม สภาแห่งกรุงเทพมหานครจึงได้อนุมัติงบประมาณดำเนินการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กว่า 60,000 ล้านบาท เพื่อผลักดันให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม ซึ่งหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร Bangkok Art and Culture Centre ได้เริ่มก่อสร้างในที่ดินของกรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกปทุมวัน และได้มีการเปิดโครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการ เมื่อวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2548
ในกำหนดการเดิม หอศิลปะวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จะสร้างเสร็จช่วงปลายปี 2549 แต่การก่อสร้างได้ล่าช้าออกไปจากเดิม ซึ่งคาดการณ์กันว่าน่าจะก่อสร้างเสร็จราวๆปลายปี 2550 หรือต้นปี 2551
พื้นที่ใช้สอยและตัวอาคารตัวอาคารสูง 9 ชั้น (บวกอีก 2 ชั้นใต้ดิน) โดยในตัวอาคารถูกออกแบบมาให้เป็นทรงกระบอก ซึ่งสามารถเชื่อมต่อระหว่างอาคารได้ด้วยทางเดินวน เป็นแนวเอียงขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้คนที่เข้ามาชมผลงาน สามารถชมได้ต่อเนื่องในแต่ละชั้น นอกจากนี้ตัวอาคารยังออกแบบมาให้สามารถรับแสงสว่างจากภายนอกได้ โดยที่แสงไม่แรงพอจะที่เข้ามาถึงขนาดทำลายผลงานศิลปะที่แสดงอยู่ข้างในได้ นอกจากห้องนิทรรศการที่มีอยู่หลายส่วนแล้ว ภายในยังมีส่วนที่เป็นห้องสมุดประชาชน, ห้องปฏิบัติการศิลปะ, ห้องเอนกประสงค์ 300 ที่นั่ง, ร้านค้า รวมไปถึงโรงภาพยนตร์-โรงละครขนาด 222 ที่นั่ง
สถานที่ตั้ง: บริเวณแยกปทุมวัน ตรงข้าม MBK center และ Siam Discovery, สถานีรถไฟฟ้า BTS สนามกีฬาแห่งชาติ