Anna ...หรือใช่ สตรีผู้สูงศักดิ์..????
Anna and the king คนเขียนไม่ได้ชื่อแอนนา
แต่ชื่อ...
Margaret Landonสนใจเพิ่มเติมลอง
http://info.matichon.co.th/art/ แล้ว search ด้วยคำว่า แอนนา ดูนะครับ
เห็นด้วยกับ คคห.บน นะ
ถ้า่ให้สร้างในไทย และรัฐบาลไทยดูแลอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ เรื่อง บท ..อาจจะไม่แหลก ขนาดนี้
เพิ่มเติมครับ คนที่มาประเทศไทย และบันทึกเรื่องพวกนี้ไว้ชื่อว่า
Anna Leonowens หลังจากนั้นถูกเอาไปเขียนเป็นนิยายโดย Margaret Landon ภายหลังครับ
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2410
แอนนา เลียวโนเวนส์ (Anna Leonowens) สตรีชาวอังกฤษ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษให้แด่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระราชโอรสธิดา เดินทางออกจากประเทศไทยกลับสหรัฐอเมริกา หนึ่งปีก่อนที่รัชกาลที่ 4 จะเสด็จสวรรคต แหม่มแอนนาเดินทางจากสิงคโปร์มาถึงกรุงเทพฯ ในปี 2405 ตามจดหมายเชิญชวนของรัชกาลที่ 4 ผ่านผู้จัดการบริษัทบอร์เนียวประจำสิงคโปร์คือนายวิลเลียม อดัมสัน เพื่อมาเป็น “พระอาจารย์ฝรั่ง” สอนภาษาอังกฤษในราชสำนักสยาม แอนนาอยู่ในสยาม 4 ปี 6 เดือนก็ได้ถวายบังคมลาออกเนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ เธอเดินทางกลับไปสหรัฐอเมริกาโดยแวะพักที่อังกฤษและไอร์แลนด์ ที่นั่นเธอได้เขียนบทความและสารคดีเกี่ยวกับประสบการณ์ในสยามลงนิตยสาร Atlantic Monthly ซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์ กลายเป็นหนังสือรวมเล่มเกี่ยวกับชีวิตแอนนาในพระราชสำนักสยาม 2 เล่มคือ "The English Governess at the Siamese Court” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2413 และ "The Romance of the Harem” ซึ่งต่อมากลายเป็นหนังสือขายดีและสร้างชื่อเสียงให้กับเธอเป็นอย่างมาก หลังจากนั้น มาร์การ์เร็ต ลอนดอน (Margaret Landon) ได้นำชีวิตของแอนนามาแต่งเป็นนิยายขายดีชื่อว่า "Anna and the King of Siam" ในปี 2487 อีกสองปี จอห์น ครอมเวลล์ (John Cromwell) ได้นำชีวประวัติของแอนนามาสร้างเป็นละครเพลงและภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน จากหนังสือทั้งสองเล่มของแอนนาได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างสูง ในกรณีที่สตรีชาวยุโรปได้มีอิทธิพลต่อราชสำนักสยาม เนื่องจากเนื้อหาในหนังสือบางส่วนแอนนาได้แต่งเติมลงไปว่าเธอมีส่วนในการผลักดันหรือชี้แนะนโยบายหลายอย่างต่อราชสำนักสยาม โดยเฉพาะเรื่องทาสและสิทธิสตรี ยิ่งเมื่อมีการนำชีวิตของเธอมาแต่งเป็นนิยายและสร้างเป็นภาพยนตร์ ก็ยิ่งมีผู้เข้าใจว่าเธอมีอิทธิพลต่อราชสำนักสยามจริง แต่เมื่อมีการสอบสวนเรื่องนี้โดยนักวิชาการ ก็ได้บทสรุปที่เชื่อกันว่าแอนนาแท้จริงแล้วไม่ได้มีบทบาทอะไรมากไปกว่าครูสอนภาษาอังกฤษ ขณะที่นักวิชาการบางส่วนเห็นว่าเธอเป็นสายลับของต่างชาติ จนลุกลามไปถึงการโจมตีแอนนาว่าโกหก หลอกลวง และดูหมิ่นพระเกียรติพระมหากษัตริย์สยาม แม้เธออาจได้รับคำนินทาว่าร้ายหรือคำสรรเสริญเยินยอจากผู้คนในยุคหลัง แต่อย่างไรก็ตามเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเธอในพระราชสำนักสยามก็ยังคงเป็นที่สนใจใคร่รู้ของผู้คนอยู่ต่อไป
ภายหลังลุกชายแท้ๆ ของแอนนาก็เขียนหนังสือเกี่ยวกับสยามประเทศจริงๆจังๆ แก้ข่าวหลายๆอย่างครับ
เพราะลูกชายของเธอมาทำวิจัยเกี่ยวกับแมลงในประเทศแถบนี้