เด็กฉลาดจะมีเพศสัมพันธ์น้อยลงhttp://blognone.com/node/5437Submitted by lew on 1 August, 2007 - 23:05. tags:
มีรายงาน การวิจัยด้านสังคมชิ้นล่าสุดออกมาแสดงความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างไอคิวและ การมีเพศสัมพันธ์ ระบุว่าเด็กมัธยมปลายในสหรัฐจะมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์ลดลงตามไอคิวที่สูงขึ้น ตามลำดับ
รายงานฉบับนี้ระบุว่าเด็กที่มีไอคิวอยู่ที่ระดับ 75-90 จะมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์สูงที่สุด และค่อยๆ ลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ตามลำดับไอคิวที่มากขึ้น โดยเด็กที่มีไอคิวสูงถึง 120-130 นั้นจะมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์เพียงหนึ่งใน 1.5 ถึง 5 ของเด็กที่มีไอคิว 75-90 เท่านั้น
รายงานนี้ยังมีการสำรวจไปถึงระดับมหาวิทยาลัยว่าเด็กระดับปริญญาตรีใน สหรัฐฯ นั้นจะมีอัตราการมีเพศสัมพันธ์ถึงร้อยละ 87 แต่ในมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันนั้นตัวเลขจะเหลือแค่ร้อยละ 59 และใน MIT จะเหลือร้อยละ 51 สำหรับ MIT นั้นแม้แต่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาก็ยังมีอัตราการมีเพศสัมพันธ์เพียงร้อย ละ 65 เท่านั้น
ในที่มาข่าวยังมีรายงานงานวิจัยในแง่มุมอื่นๆ อีกเยอะ เผื่อใครจะลองศึกษามาทำงานวิจัยในเมืองไทยบ้างก็น่าสนใจดี อย่างน้อยก็ดีกว่าให้นักข่าวโรคจิตไปถ่ายซูมชุดนักศึกษาแล้วให้ป้าๆ มาวิจารณ์ออกทีวี
ว่าแต่คนอ่าน Blognone นี่วัดไอคิวกันได้เท่าใหร่บ้าง?
แล้วก็นี่
ชมเด็กว่าขยันดีกว่าชมว่าฉลาดhttp://www.blognone.com/node/5443Submitted by thep on 2 August, 2007 - 10:04. tags:
อ่านข่าว เด็กฉลาดมีเพศสัมพันธ์น้อย ทำให้นึกถึงงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่เคยอ่าน เกี่ยวกับอิทธิพลของคำชมที่มีต่อเด็ก
เด็กที่ได้รับคำชมอย่างสม่ำเสมอว่าเป็นเด็กฉลาด โดยที่ผู้ใหญ่คาดว่าจะช่วยเสริมความเคารพตัวเอง และมีความมั่นใจในการเรียนรู้ให้เก่งขึ้น ๆ นั้น งานวิจัยจากทีมมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กลับพบผลตรงกันข้าม โดยเฉพาะเด็กที่เป็นหัวกะทิ จะกลัวความล้มเหลวจนปฏิเสธการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ตัวเองรู้สึกว่าจะทำได้ไม่เท่ามาตรฐานของตัวเอง อีกทั้งมีแนวโน้มจะดูถูกการลงแรงอีกด้วย
ในอีกทางหนึ่ง เด็กที่ได้รับคำชมว่าขยัน มานะพยายาม กลับมีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่กว่ามาก และพร้อมจะทำโจทย์ที่ท้าทายโดยไม่กลัวความล้มเหลว
"หัวดีไม่สำคัญ ขยันสิน่ากลัว" ภาษิตเก่าของนักเรียนไทย ยังคงใช้ได้ แต่อาจได้รับความสนใจน้อยลงในสภาพสังคมปัจจุบัน
ที่น่าสนใจคือ ใน Blog ของ Russel Coker ซึ่งเป็น Debian Developer คนหนึ่ง ได้เทียบเรื่องนี้เข้ากับสังคมนักพัฒนา โดยมองว่า เราควรนิยมนักพัฒนาที่ขยันให้มากขึ้น มากกว่าจะนิยมแต่นักพัฒนาที่ฉลาด ซึ่งอาจฉลาดในการหลบเลี่ยงการทำงานหนัก เพราะยังมีงานในแวดวงโอเพนซอร์สอีกมาก ที่ต้องการแรงงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การ reverse engineer device driver สำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ การดีบั๊กโปรแกรม ฯลฯ (ใน blog เขาพูดในบริบทของ kernel hacker แต่ผมคิดว่าที่เราเห็นได้ชัดเลยคืองานแปล) ซึ่งนักพัฒนาที่สนใจแต่งานที่ "เจ๋ง ๆ" ไม่ค่อยอยากจะแตะต้อง
ที่มา - New York Magazine ผ่าน Russel Coker's Blog
บทความอันหลังนี่น่าสนใจมากครับ
เลิกชมเด็กว่าฉลาดกันดีกว่า แต่ชมว่า ขยันจัง