หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: อยากให้ฟอนต์เขียนเลข ๓ ๗ ให้ถูก  (อ่าน 17030 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
นี่คือแบบที่ถูกต้อง

เลข 3 ไทย รอยหยักต้องลากยาวลงมาถึงพื้น
เลข 7 ไทย รอยหยักต้องไม่ลากยาวลงมาถึงพื้น

เคยเห็นฟอนต์บางตัว เลข 7 ไทย รอยหยักลากลงมาถึงพื้นด้วย พิลึกมาก


ผมสร้างฟอนต์เองไม่เป็นหรอกนะครับ
แต่อยากให้ช่วยกันรักษาภาษาไทย ทั้งรูปแบบและการใช้งาน
เพราะเท่าที่ผมโหลดฟอนต์ใหม่ ๆ มาใช้
เกือบ 100% ที่เขียนเลข 3 ไทยผิด คือลากไม่ถึงพื้น


ทั้งนี้ ขอขอบคุณนักสร้างสรรค์ฟอนต์ทุกท่านครับที่ช่วยกันสร้างฟอนต์สวย ๆ ออกมา
หวังว่าความเห็นของผมคงจะเป็นประโยชน์บ้างนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 พ.ค. 2007, 22:45 น. โดย akkhawit » บันทึกการเข้า
พูดเรื่องถูก ไม่ถูก ก็น่าสนใจนะครับ
ตอนนี้ อ.อนุทิน (คนทำฟอนต์ AIS ที่คุ้นตา) ได้ทดลองทำตัว ห หีบเป็นรูป K
(จริงๆ แล้วมาจาก R แต่เพื่อให้จำง่ายให้ดูเป็น K ละกันครับ)
ซึ่งมีเสียงตอบรับทั้งด้านบวกและด้านลบจากผู้ใช้งาน
แต่สำหรับนักออกแบบแล้ว มันคือความกล้าหาญอย่างมากเลยครับที่มาทดลองทำตรงนี้

คุณ akkhawit ลองดูตัวอักษรในภาพนี้นะครับ



พออ่านได้ใช่ไหมครับว่า เอก โท ตรี?
ถ้าอ่านได้ ก็ลองมองซ้ำอีกทีนะครับ ว่า
สระเอ มันต้องเป็น เ ยังงี้ไม่ใช่รึ
อ อ่างล่ะ
ก ไก่ล่ะ
สระโอ - ท ทหาร - ต เต่า - ร เรือ หรือแม้สระอี
ไม่มีตัวไหนเลยครับที่เขียนถูกต้องตามสัดส่วนตัวอักษรไทยที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดมา



การรักษาสัดส่วนของตัวอักษรเป็นสิ่งดีครับ ดีมากๆ เลย
แต่ก็ต้องเข้าใจว่าการออกแบบตัวอักษรนี้ก็มีศาสตร์ในศิลป์ของมันเช่นกัน
ไม่งั้นถ้าศิลปะหยุดนิ่งเมื่อไหร่ โลกก็จบลงด้วยสีเทาครับ


ผมว่าผมเคยเขียนเรื่องการออกแบบเลขไทยไว้นิดนึงที่นี่นะครับ
http://iannnnn.com/2007/310
แต่ไม่รู้ว่าเขียนทีเล่นทีจริงไปหรือเปล่า เหมือนคนจะไม่ค่อยเก็ต คริคริ





ป.ล. คุณ akkawit เคยเห็นเลข ๒ ไทยแบบนี้ไหมครับ


ถ้าไม่เคยเห็น ลองไปดูได้ที่ตราสัญลักษณ์มหามงคล ๘๐ พรรษาของในหลวง นะครับ ไหว้
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
เลข 2 ไทยเคยเห็นครับ เห็นบ่อย

แต่กับ 3 ไทยผมว่ามันไม่ยากใช่มั้ยครับที่จะให้ถึงพื้น
และการอ่าน แยกแยะ ระหว่าง 3 กับ 7 ก็จะทำให้ง่ายขึ้นด้วย

และพยัญชนะทุกตัวที่นักสร้างสรรค์ฟอนต์ออกแบบไว้
ผมเชื่อว่าถึงเวลาเขียนด้วยมือจริง ๆ แล้ว
คนไทยก็รู้ว่าเขียนยังไง
แต่กับเลข 3 ไทย ผมเชื่อว่าคนไม่รู้เยอะนะครับว่ารอยหยักต้องถึงพื้น

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เอก โท ตรี ที่คุณเขียนมา นั่นคือลายมือผมเลยนะครับ อิอิ
คือผมเขียนแบบไม่มีหัว
ตัว อ = O
ตัว ต = M
ตัว ค = A

อิอิ
บันทึกการเข้า
พอดีผมไม่มีหนังสืออ้างอิงของราชบัณฑิตยสถานมาในมือ ไม่งั้นจะได้ตอบให้สนุกกว่านี้


แต่ก่อนอื่นขอให้แยกให้ออกนะครับ
ระหว่างคำว่า ฟอนต์มาตรฐาน กับคำว่า ตัวอักษรมาตรฐาน

ถ้าเป็นตัวอักษรไทยมาตรฐาน เรื่องของสัดส่วนนี่เขาแจกแจงกันเป็นกระเบียดๆ เลยนะครับ
(อยู่ในหนังสือเล่มที่ผมว่า ออกโดยราชบัณฑิตยสถาน)
ไม่ได้มีแค่เรื่องเลข ๓ กับเลข ๗ อย่างเดียวด้วยแหละ แต่มีทุกตัวอักษรเลย
แต่จะว่าก็ว่าเถอะครับ ขนาดแบบเรียน แบบฝึกคัดลายมือเอง
ก็ยังมีหลายตำราเลยครับ จะเอาแบบหัวกลม หัวรี หลังโค้ง หรือมุงหลังคา
นี่ก็เพราะว่าคนออกตำรา (ที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว) เขาอิสระกับตรงนี้ครับ

แล้วคุณ akkawit ทราบไหมครับว่าขนาดตำราเรียนที่หัดให้เด็กทั่วประเทศเขียนนั้น
หรือแม้แต่ตัวอักษร 99% ที่เราเห็นนั้น ก็ไม่ได้ตรงตามราชบัณฑิตฯ นะครับ
เพราะอะไรเดี๋ยวเรามาคุยกันในย่อหน้าต่อไป


ทีนี้มาว่าด้วยเรื่อง "ตัวพิมพ์" หรือ "ฟอนต์" ละกัน
ลองดูตัวอักษร 4 ตัวนี้ครับ

ก ข ค ง
๓ ๗



ฟอนต์ Tahoma ขนาด 99pt
ซึ่งน่าจะเป็นฟอนต์ที่เราชินตากันมากที่สุดฟอนต์หนึ่งในผู้ใช้วินโดวส์นะครับ
ว้าย! ทำไม ก ไก่เป็นยังงั้น เอ๊ะ ข ไข่ทำไมมีตีน?
ค ควายทำไมตำแหน่งหัวอยู่ตรงกลางลำตัว หรือแม้แต่ ง งูที่ฐานโค้งปลายตัด
มันผิดนี่!!!

ไม่ผิดครับ ถ้ามองในแง่ของการออกแบบตัวอักษรมาตรฐานสำหรับการมองเห็นในหน้าจอ
เพราะมันมีรายละเอียดเหตุผลลึกซึ้งมากมายที่ต้องทำออกมาแบบนี้ ไม่ใช่มาตรฐานตามที่คุณเสนอมา
นั่นเพราะเรื่องของประโยชน์ของการใช้สอยของมันครับ (ออกแบบเพื่อแก้ปัญหา)
เลข ๓ เลยต้องไส้ไม่แตะพื้น และเลข ๗ ต้องสัดส่วนแบบนั้น

ส่วนถ้าเป็นฟอนต์แบบจริงจังเพื่อการพิมพ์ล่ะก็
ก็อยู่ที่คนออกแบบล่ะครับว่าเขาจะเอาดีไซน์เป็นแบบไหน
จะผูกมัดกับขนบ หรือจะทดลองสร้างสิ่งใหม่เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน (ส่วนมากจะเน้นแบบหลัง)

http://www.pdfthai.com/products/new_db.htm
http://www.freemac.net/modules.php?name=News&file=print&sid=627

ดูฟอนต์ตามลิงก์นี้ประกอบก็ได้ครับ ชื่อว่า DB Soda เป็นผลงานชิ้นโบแดงของ DB Design
ซึ่งเจ้าของเขาวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับการออกแบบตัวอักษรอย่างไรให้อ่านได้รื่นตาที่สุดในโลกมาแล้ว
ถือได้ว่าเป็นฟอนต์ที่พัฒนาไปไกลมากๆ ในประเภทของฟอนต์มาตรฐานสำหรับสิ่งพิม์
จึงเป็นผลดังที่เห็นในลิงก์ครับ (ผมยังไม่มีตังค์ซื้อ)


ป.ล.ลองดูเลข ๗ ไทยของเขาสิครับ ผมว่าน่ารักมากๆ เลยนะ กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
เอามาให้อ่านครับ






เอาเป๊ะๆตามมาตรฐานกำกับไว้ไม่ใช่แค่ลากหัวเท่านั้นครับ
ทุกอย่างถูกกำหนดไว้แล้ว
บันทึกการเข้า

นักเขียนการ์ตูนรายปี
ขอบคุณครับ


ถ้าจะออกแบบให้เป๊ะๆ มันต้องตามนี้เลยนะครับ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
มีกระจู๋แบบนี้บ่อยๆนี่  ดีจริงๆครับ  ได้ความรู้มีสาระ   เจ๋ง


บวกให้ทั้งเจ้าของกระจู๋และป๋าเลย์  ส่วนแอนนนนน  ไปบวกเอาเองก็ได้       
บันทึกการเข้า

โฮ๊ะ  โฮ๊ะ  โฮ๊ะ  โฮ๊ะ
 เจ๋ง
อ่านแล้วนึกถึงตอนที่พ่อผมสอนคัดลายมือ สมัยเด็กๆ
อย่าง พ เนี่ยใส้ต้องลากขึ้นให้สุด แต่ผไม่ต้องสุดก็ได้.... ฮือๆ~
บันทึกการเข้า
ตอนนี้ขอแค่ไม่ขอบคุงงับ ผมก็ปลื้มมากแล้วครับ  ฮือๆ~
บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R

อ่านมาตั้งนานพึ่งรู้ว่า เลขสามต้องลงสุดหมายความว่ายังไง  ง่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พ.ค. 2007, 15:24 น. โดย เอ : ปิยะ » บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ  ยิ้มน่ารัก
บันทึกการเข้า
ขึ้นให้สุดต้องลงให้มิดดดดดด
บันทึกการเข้า

กินรอบวง
หน้า: [1]
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!