ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นการ Hint แบบ PostScript นะครับ
ดังนั้นถ้าจะ generate เป็น TrueType Font ก็ต้องทำแบบ TrueType ซึ่งขณะนี้ไม่ได้อธิบายไว้ขอบคุณ PSK_Type มากๆครับที่มาบอก ไม่งั้นคงโง่อยู่นาน

วันนี้ขอลามปามแนะนำเทคนิคขั้นสูงในการทำฟอนต์นะครับ
ใครจะนำไปใช้หรือไม่ใช้ก็ตาม อันนี้ก็แล้วแต่วิจารณญาณท่านเอง
(ใครรู้เรื่องแล้วก็ประทานอภัยด้วยครับ

)
ไปดูความเดิมตอนที่แล้วดีกว่า
แต่รู้ทั้งรู้ว่าผลงานมันออกมาห่วยมาก ตอนที่มันแสดงผลในมอนิเตอร์ เมื่อใช้ขนาดฟอนต์เล็กๆ
(แต่พอตอนปริ้นต์ออกมาก็คม ชัดเจน อ่านง่ายดีนะ)

(คือถ้าใช้ office 2007 มันจะเป็น cleartype แต่ถ้ารุ่น 2003 หรือต่ำกว่านั้น ฟอนต์จะยิ่งห่วยกว่านี้อีก)
ที่มันห่วยเพราะเวลาตอนที่เราสร้างฟอนต์ เรากำหนดความสมดุลไว้ผิดพลาด
ถ้าคลาดเคลื่อนไปมิลนึง การแสดงผลผ่านหน้าจอในแบบ alias จะแตกเป็นเม็ดๆเน่าๆทันที
ตอนนี้กำลังแก้ฟอนต์ตูอยู่ โจทย์คือจะทำยังไงดี ให้ฟอนต์ดูดีทั้งในจอและตอนปรินต์ออกมา
เพราะถ้าแสดงผลห่วยในจอ คนเขาเห็นแล้วก็ไม่ใช้ฟอนต์เราอยู่ดี เพราะนึกว่าพิมพ์ออกมามันจะไม่สวย
สรุปง่ายๆว่าตอนนั้นตูโง่
ปัญหาเรื่องมอนิเตอร์ความละเอียดต่ำๆ ซึ่งมีผลต่อฟอนต์เล็กๆ
สามารถแก้ปัญหาได้ง่ายๆ (แล้วจะไม้ยมกบ่อยๆทำไม) ด้วยการกำหนดสิ่งที่เรียกกันว่า
HintingHinting Hinting Hinting Hinting Hinting Hinting Hinting Hinting .....ๆๆๆๆ
ต้องขอขอบคุณพี่มากๆครับ ที่พี่มายึดคอมเมื่อวานตอนดึก
เลยไปหยิบหนังสือ OpenType มาอ่าน (Recommended)
แล้วไปเจอใจความตอนนึง ที่ทำเอาผมเปิดกบาลมากๆ
ขออนุญาตทำสำเนาช่วงนั้นหน่อยนะครับ
เมื่อจำนวนจุดในการสร้างตัวอักษรที่ไม่เพียงพอ เช่นเมื่อตัวอักษรมีขนาดเล็ก หรือพิมพ์ด้วยความละเอียดต่ำ อาจเกิดความไม่คงที่ของตัวอักษรได้ เนื่องจากในกระบวนการแปลงจุดจะเกิดการปัดส่วนขาดและส่วนเกินจากแนวตะแกรงที่จะสร้างขึ้นเป็นรูปร่างตัวอักษร จึงอาจทำให้ความหนาของเส้นไม่คงที่ได้ หรือถ้าขนาดตัวอักษรเล็กมากๆ อาจไม่สามารถเห็นลักษณะเฉพาะของอักษรนั้นเลยก็ได้
ในฟอนต์ TrueType, Type1 และ OpenType มีวิธีการจัดการกับความไม่คงที่ของการแปลงจุดนี้ เรียกว่า การชี้แนะ (Hinting) ซึ่งเป็นการเพิ่มคำสั่งลงในฟอนต์ เพื่อให้เกิดการแปลงจุดตามการควบคุมของผู้ออกแบบป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้น
อ้าว ไอ้ห่านดินกินหญ้า แล้วงี้ที่ตูอุตส่าห์มานั่งแก้ทีละมิลบ้าบออะไรนั่น ตูจะมาทำทำไม๊

ว่าแล้วเลยลองค้นหาคำว่า Hinting ในบอร์ด ก็พบว่าเคยคุยกันมาแล้ว (ตั้ง 1 กระจู๋แน่ะ)
http://f0nt.com/forum/index.php/topic,2210.0.htmlในนั้นก็พูดถึงความหมายทั่วๆไปครับ ส่วนวิธีทำไม่ได้บอกไว้ เลยต้องมางมเข็มในมหาสมุทร
(แทนที่จะได้มีเวลาไปอ่าน-ไปดูรูปคนที่ไปมีตติ้ง เสียเวลาจริงๆ โถ... ชีวิตรันทด)
เอาเถอะ
ผมมีฟอนต์อยู่ตัวนึง ซึ่งมีชื่อ XXX
ผมทำเสร็จแล้ว แต่ลองเอามาพิมพ์ดู โดยใช้ขนาด 55 พอยท์ ก็ปรากฏว่า...

สวยดีนะ....
แต่ทว่า ลองเอามาดูขนาด 12

อุบาทว์ฉิบ...
หนทางแก้ก็ง่ายๆครับ มองดูว่าฟอนต์ไหนมีปัญหา ก็จัดการแก้ฟอนต์นั้นซะ
หรือถ้าให้ดี ก็แก้มันให้หมดทุกอักขระเลย (เล่นเอาเสียเวลาพอๆกับทำฟอนต์ทั้งชุด)
วิธีทำก็ง่ายๆ ไปที่เมนู Tools --> Hints & Guides --> Autohinting

สิ่งนี้จะทำให้โปรแกรมมันจัด hint ให้อัตโนมัติ
เอาล่ะ เราก็ลองไปพรีวิวฟอนต์ออกมาดูว่าใช้ได้มั้ย
(การพรีวิว ทำได้ตามกระจู๋นี้ครับ
http://f0nt.com/forum/index.php/topic,5461.0.html)
ถ้าดีแล้ว ก็ข้ามไปทำตัวต่อไป
ถ้ายังไม่ดี ก็ต้องมาปรับแบบอัตโนมือเอาเอง
วิธีการปรับแบบแมนวลให้ไปที่
Tools --> Hints & Guides --> Type
1 Hintings

คราวนี้จะเจอการแสดงผลอีกแบบนึงครับ

วิธีในการปรับก็คือให้คุณลากเส้นประคู่สีเขียวๆไปในจุดที่ต้องการ
สังเกตว่าวงกลมมันจะเปลี่ยนตำแหน่งไปด้วย
(ไอ้วงกลมสีเทามันจะแสดงตำแหน่งในการกินของเนื้อฟอนต์ครับ พูดไปก็ไม่เข้าใจ คงต้องลองทำเอง)
- ถ้าจะลบเส้นประที่ไม่ต้องการ กดคลิกขวาที่เส้น แล้วคลิกที่ Delete this hint
- ถ้าจะเพิ่มเส้นคู่ใหม่เข้า กด Ctrl ที่คีย์บอร์ด พร้อมกับลากที่ไม้บรรทัดด้านซ้ายหรือด้านบนในจอ มันก็จะเพิ่มเส้นใหม่ให้เรา
- ถ้าจะแก้ระยะความกว้าง กดคลิกขวาที่เส้น แล้วคลิกที่ Properties ตรงช่อง Width
ทำเสร็จแล้ว คราวนี้ลองมาทดลองฟอนต์ดูซิ ว่าเป็นไงบ้าง

สุดยอด!! การแสดงผลที่ผิดพลาดดังภาพที่ 2 ได้หายไปแล้วอย่างสิ้นเชิง
แต่อย่านิ่งนอนใจไป ลองดูขนาดอื่นๆด้วยว่ามีปัญหาไหม


ถ้าไม่มีปัญหาก็จบแล้วครับ
(ข้อดีของ hint อีกอย่าง คือมันจะทำให้อักษรเราเป็นสีเทา ไม่ใช่ขาว-ดำ
อักษรที่ผ่าน hinting จึงดูนุ่มนวลกว่าเยอะ)
ทั้งหมดนี่ก็แค่สิ่งที่ผมรู้ ยังเหลือไอ้ที่ไม่รู้อีกเยอะแยะ
ช่วยๆกันเอาความรู้ที่ตัวเองมีอยู่ แผ่ไปบนโต๊ะ
ให้เด็กๆรุ่นใหม่ได้เก็บกันเอาไปใช้ประโยชน์บ้างครับ
อย่างน้อยก็คงมีซักคนที่ได้เห็นคุณค่าของมัน
ขอบคุณครับทุกท่านที่อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ
หวังว่าต่อๆไปคงมีใครซักคนมาช่วยผมเขียนอีกนะั